วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

กฎหมายที่มีผลกระทบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ(Laws affecting the development of infrastructure)

นายนฤการ ทิมเมือง
หัวหน้างานบำรุงทางเคลื่อนที่
สำนักงานบำรุงทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
Nagarn@hotmail.com

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานนี้รวบรวบ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในด้านการคมนาคมทางถนนของภาครัฐ ซึ่งในปัจจุบันถูกกำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบผลกระทบต่อโครงการทุก ๆ ด้านทั้งในด้านการประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมินผลกระทบส่งแวดล้อม และต้องให้ความสำคัญของคุณภาพชีวิตของคน ชุมชน และท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งข้อกฎหมายต่าง ๆ ตามมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย รวมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ นโยบาย และแผนต่าง ๆได้กล่าวไว้ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางนโยบายภาครัฐ ต้องพึ่งทราบและพิจารณา ในองค์ประกอบและรายละเอียดที่ต้องตระหนักเพิ่มขึ้นเพื่อการนำพาโครงการ ฯ ให้ประสพความสำเร็จอย่างยั่งยืน

Abstract
The purpose of this report collect regulatory requirements in the development of public infrastructure in the public road transport. This current is determined to require monitoring of every project in terms of social impact assessment and submit environmental impact assessment. And to the importance of quality of life of local communities and in conjunction with the development of infrastructure The laws of the various provisions of the Constitution and laws and regulations, rules, policies and plans, said the various duties of the executive and those involved with public policy makers. Depends on informed and consider The elements and details that need to increase awareness of the project leads to sustainable success.



การพัฒนาสู่ความเจริญของประเทศทางด้านระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการจำเป็นต้องอาศัยความสอดคล้องต่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีผสมผสานกับฐานความหลากหลายทางชีวภาพจึงจะสร้างความมั่นคงของฐานความเจริญทั้งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นให้ความสำคัญกับการรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ให้ผสานกัน โดยการพัฒนาจำต้องใช้ระบบสร้างองค์
ความรู้ ส่งเสริมสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกโครงการ โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดเขต และการจัดการเชิงพื้นที่ภายใต้การจัดทำข้อตกลงกับชุมชนท้องถิ่นในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยกำหนดนโยบายสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผลักดันทำให้เกิดระบบประเมินสิ่งแวดล้อม
ระดับยุทธศาสตร์ ระบบประเมินผลกระทบทางสังคมและสุขภาพในโครงการพัฒนาของรัฐโดยมีการมุ่งเน้นการบริหารอย่างเป็นระบบ ตามหลักการบริหาร การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ มุ่งเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยให้ความสำคัญกับ

1.การเสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมไทย ตลอดจนวางรากฐานให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และเพิ่มประสิทธิภาพกลไกและกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการเมืองให้เข้มแข็งและเป็นอิสระ
2.เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้สามารถเข้าร่วมในการบริหารจัดการประเทศ และร่วมในกระบวนการบริหารจัดการประเทศให้เกิดความเป็นธรรมและ
ความโปร่งใสในการพัฒนาประเทศ
3.สร้างภาคราชการที่มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล เน้นการบริการแทนการกำกับควบคุมการ ลดการบังคับควบคุม คำนึงถึงความต้องการของประชาชนและลดภาระการลงทุนของภาครัฐโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ
4.การกระจายอำนาจการบริหารจัดการประเทศสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพัฒนาศักยภาพ และกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ท้องถิ่น ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้นจึงได้ทำการประมวล กฎ ระเบียบที่ต้องมีการให้ความสนใจเพิ่มขึ้นมิใช้เพื่อความสำเร็จของโครงการแต่ประการเดียวยังต้องคำนึงถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆที่มีกฎหมายให้การรับรองซึ่งในขั้นตอนการกำหนดนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศดังต่อไปนี้

2.กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิบุคคล ชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งเป็นข้อกฎหมายสำคัญเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทางสังคม โดยเฉพาะในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล การประเมินผลการะทบและการเสนอมาตรการในการจัดการกับปัญหาหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกรณีมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย
1) แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
(1) การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เองรวมถึงการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (มาตรา 78 (3))
(2) จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐในทางเศรษฐกิจ และต้องมิให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอยู่ในความผูกขาดของเอกชนอันอาจก่อความเสียหายแก่รัฐ (มาตรา 84 (10))
(3) ส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน (มาตรา 85 (5))
(4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น (มาตรา 87 (1))
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ (มาตรา 87 (2))

2) สิทธิในข้อมูลข่าวสาร
สิทธิในข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองไว้ ซึ่งในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของรัฐจะต้องตระหนักถึงความสำคัญ และดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้นของโครงการคือระยะที่ทำการศึกษาและ
วางแผนพัฒนา ในการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม โดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ประกอบด้วย
(1) สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว (มาตรา 59)
(2) สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐให้รับผิดชอบเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของหน่วยราชการนั้น (มาตรา 60)

3) สิทธิชุมชน
(1) รัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชมท้องถิ่นดั้งเดิม มีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนะธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล และยั่งยืน (มาตรา 66)
(2) บุคคลมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตน (มาตรา 67 วรรคหนึ่ง)
(3) การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน (มาตรา 67 วรรคสอง)
(4) ชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในข้อ (2) และข้อ (3) (มาตรา 67 วรรคสาม)

2. พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มีเจตนารมณ์เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวางแผนและจัดการสิ่งแวดล้อม การประกาศเขตควบคุมมลพิษและเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ โดยเฉพาะในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน มีดังนี้ การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment หรือ EIA) การวิเคราะห์ผลกระทบส่งแวดล้อม คือการวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการหรือกิจการประเภทต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม หรือสภาพแวดล้อมที่อาจจะมีผลกระทบต่อโครงการหรือกิจการนั้นทั้งในทางบวกและทางลบ เพื่อเป็นการเตรียมการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการหรือกิจการนั้น ๆ (มาตรา 46 วรรคหนึ่ง)

2.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินงานควบคุมดูแลในด้านสาธารสุข โดยที่การสาธารณสุขเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของมนุษย์อย่างใกล้ชิด อธิเช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงอันมีผลความเกี่ยวข้องในหมวด 5 เรื่องเหตุรำคาญ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงสภาพหรือการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น โดยการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีกโดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น (มาตรา 27)

2.3 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐและกำหนดสิทธิของประชาชนผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยเมื่อรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมืองหรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรมหรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ


3 กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทางสังคม
3.1 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศได้กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม


4. มติคณะรัฐมนตรี และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
มติคณะรัฐมนตรีแม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่มีสภาพการที่ต้องปฏิบัติจึงมีความสำคัญเพราะเป็นคำสั่งหรือผลการพิจารณาวินิจฉัยของผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารโดยสภาพเชิงนโยบายที่ให้กระทำหรือยกเว้นการตามที่ข้อกำหนดเดิมว่าไว้ ดังนั้นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบริหารจึงต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นอาจเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงสำหรับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยกตัวอย่าง เช่น
- แนวทางพิจารณาการก่อสร้างถนนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
- มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ
- มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน


5.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐและประชาชน รวมทั้งเป็นแนวทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการของรัฐอย่างกว้างขวาง โดยได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ทั้งนี้ ตามระเบียบกำหนดไว้ว่า ก่อนเริ่มดำเนินการโครงการของรัฐอันจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัย วิถีชีวิต หรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นนั้น หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้รับผิดชอบต้องจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทราบ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีการอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ โดยต้องประกาศให้ประชาชนทราบถึงวิธีการรับฟังความคิดเห็นระยะเวลา สถานที่ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการของรัฐ

สรุป
รายงานฉบับนี้ เนื้อหาเพื่อนำเสนอ กฎ ระเบียบที่มีขึ้นที่ยังผลกระทบต่อการดำเนินโครงการซึ่งผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติต้องตระหนักถึงและจัดการเตรียมความพร้อมทั้งทรัพยากร เงินลงทุนที่ต้องเพิ่มขึ้น การดำเนินการที่มีสภาวะความเสี่ยงต่อการแล้วเสร็จของโครงการมีอัตราความเสี่ยงที่สูงขึ้น ต้องจัดเตรียมความพร้อมรองรับการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอกที่ต้องเข้มงวด และประการสำคัญในการกำหนดนโยบายที่ต้องมีมาตระการส่งเสริมและต้องจัดวางให้เกิดการผสมผสานระหว่างความเจริญและการความเปลี่ยนแปรงให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมให้น้อยที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจในการพัฒนาโครงการ

[1] กรมทางหลวง,2552. ร่างคู่มือการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน. การดำเนินงานบริการที่ปรึกษาโครงการเสริมสร้างสมรรถนะงานด้านการประเมินผล กระทบ ทางด้านสังคมและการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน
[2] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2547.โครงการศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.ชชกรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
[4] สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ,2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ฉะเชิงเทรา : พิมพ์ที่บริษัท 99 กรุ๊ป เทรดดิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.
[5] ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549.แผนยุทธศาสตร์กรมทางหลวง พ.ศ. 2549-2554